แชร์

นิ้วล็อค รักษาได้ รู้เร็ว หายเร็ว!

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
142 ผู้เข้าชม

โรคนิ้วล็อค (Stenosing Tenosynovitis)

หรือที่เรียกว่า Trigger finger เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบของเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อบริเวณนิ้วมือ ทำให้เกิดการตีบหรือการล็อคของนิ้วเมื่อมีการงอหรือเหยียดออก โดยอาการจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ ในปัจจุบันพบว่าในกลุ่มออฟฟิศมีอาการนิ้วล็อคเพิ่มมากขึ้น จากการที่ใช้นิ้วมือพิมพ์คีบอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์เป็นเวลานานๆ จึงมาโอกาสที่จะเป็นโรคนิ้วล็อคได้

โรคนิ้วล็อคแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ตามความรุนแรงของอาการและการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ แต่ละระยะสามารถอธิบายได้ดังนี้:
ระยะที่ 1
อาการ: รู้สึกตึงหรือรู้สึกไม่สบายที่ฐานของนิ้วมือ ถ้ากดบริเวณฐานนิ้วมือจะมีอาการปวดมากขึ้น
การเคลื่อนไหว: ยังสามารถงอและยืดนิ้วได้ตามปกติ แต่รู้สึกไม่สะดวก

ระยะที่ 2
อาการ: มีอาการเจ็บปวดเมื่อเคลื่อนไหวนิ้ว และรู้สึกถึงการล็อคหรือการติดของนิ้ว
การเคลื่อนไหว: นิ้วเริ่มมีการติดบ้างเมื่อพยายามงอหรือเหยียด อาจจะมีเสียง "คลิก" หรือ "ป๊อบ" เมื่อเคลื่อนไหวนิ้ว

ระยะที่ 3
อาการ: อาการเจ็บปวดมากขึ้นและมีการล็อคของนิ้วบ่อยขึ้น
การเคลื่อนไหว: นิ้วสามารถติดในตำแหน่งที่งอหรือเหยียด ต้องใช้มืออีกข้างในการช่วยงอหรือเหยียดนิ้วให้กลับมาปกติ

ระยะที่ 4
อาการ: อาการเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง มีการอักเสบและบวมที่ฐานของนิ้ว
การเคลื่อนไหว: นิ้วล็อคหรือหยุดอยู่ในตำแหน่งเดียว การเคลื่อนไหวของนิ้วถูกจำกัดอย่างมากและไม่สามารถงอหรือเหยียดได้โดยไม่ต้องใช้มือช่วย

แนวทางการรักษา
- การพักการใช้งาน ลดการใช้งานนิ้วที่มีปัญหา

- การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือการฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณที่มีอาการ

- การใช้น้ำแข็งหรือความร้อน เพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวด

- การรักษากายภาพบำบัด โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด อักเสบ เพิ่มความยืดหยุ่ดของข้อต่อนิ้วมือ รวมทั้งการดัด ดึงข้อต่อ และการออกกำลังเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ

- ในกรณีที่การรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล อาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อแก้ไขเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อที่มีปัญหา

การใช้เครื่องมือในการรักษา 

เครื่อง HPLT ( High power laser )

เครื่อง TECAR Therapy (Transfer of Energy Capacitive and Resistive)

เครื่อง Focus Shockwave (FSWT)


อ้างอิง
1. American Academy of Orthopaedic Surgeons. (n.d.). Trigger finger (stenosing tenosynovitis). Retrieved August 15, 2024, from https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/trigger-finger
2. National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases. (n.d.). Trigger finger. Retrieved August 15, 2024, from https://www.niams.nih.gov/health-topics/trigger-finger
3. Brotzman, S. B., & Manske, R. C. (Eds.). (2011). Clinical orthopaedic rehabilitation: An evidence-based approach (3rd ed., pp. 5-6) Elsevier.


บทความที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมที่ช่วยในโรคนอนไม่หลับ
โรคนอนไม่หลับเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย เป็นได้ตั้งแต่ วัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอายุ สาเหตุของโรคนอนไม่หลับนั้นหลากหลาย รวมถึงปัจจัยทางกายภาพ จิตใจ และพฤติกรรม
โรคเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervains tenosynovitis)
โรคที่เกิดอาการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นและเอ็นที่อยู่บริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ ปลอกหุ้มเอ็นที่หุ้มรอบเอ็นเหล่านี้จะหนาขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของเอ็นภายในปลอกหุ้ม ส่งผลให้มีอาการปวดและบวมบริเวณข้อมือและฐานของนิ้วหัวแม่มือ
โรครองช้ำ (plantar fasciitis)
โรครองช้ำ คือภาวะอักเสบที่บริเวณพังผืดใต้เท้า มักเกิดบริเวณพังผืดที่เชื่อมกับกระดูกสันเท้า โดยจะปวดเมื่อมีการลงน้ำหนักที่เท้า ส่วนมากจะเกิดช่วงแรกๆของการลงน้ำหนัก
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy