โรครองช้ำ (plantar fasciitis)
โรครองช้ำ (plantar fasciitis)
โรครองช้ำ คือภาวะอักเสบที่บริเวณพังผืดใต้เท้า มักเกิดบริเวณพังผืดที่เชื่อมกับกระดูกสันเท้า โดยจะปวดเมื่อมีการลงน้ำหนักที่เท้า ส่วนมากจะเกิดช่วงแรกๆของการลงน้ำหนัก เช่น ตอนเช้าหลังจากตื่นนอนหรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานานแล้วลุกขึ้นยืน หลังจากลงน้ำหนักไปสักพักอาการปวดจะลดลง ในกรณีที่มีอาการอักเสบมากจะมีอาการปวดตลอดเวลา
กลไกการบาดเจ็บ
เมื่อเนื้อเยื่อพังผืดถูกใช้งานหนักเกินไปหรือถูกทำให้บาดเจ็บซ้ำๆ จะเกิดการอักเสบ และทำให้เกิดความเจ็บปวดและบวม
สาเหตุ
- การยืนหรือเดินเป็นเวลานาน การวิ่งหรือกระโดดบนพื้นแข็ง
- การใส่รองเท้าที่ไม่มีการรองรับเพียงพอสามารถทำให้เนื้อเยื่อพังผืดเกิดการบาดเจ็บได้
- น้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้ตอนลงน้ำหนักจะไปเพิ่มแรงกดดันที่บริเวณฝ่าเท้า
- โครงสร้างของเท้าที่ผิดปกติ เช่น เท้าแบนหรืออุ้งเท้าสูง
อาการ
- อาการปวดที่ส้นเท้า หรือบางครั้งอาจลามไปที่ฝ่าเท้าทั้งหมด
- อาการปวดมักจะรุนแรงที่สุดในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน
- อาการปวดมักจะลดลงหลังจากเคลื่อนไหวได้ระยะหนึ่งแต่กลับมาใหม่ถ้าต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน
- บางครั้งอาจเกิดอาการบวมเล็กน้อยที่บริเวณส้นเท้า
การรักษา
- ลดการใช้งานโดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ
- ลดอาการอักเสบและบวม โดยการใช้เครื่องทางกายภาพบำบัด เช่น HPLT, TECAR การประคบเย็น ร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อที่น่องและฝ่าเท้า
- เลือกรองเท้าที่ช่วยลดแรงกระแทกที่บริเวณส้นเท้า หรือใช้แผ่นรองเท้าที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับฝ่าเท้า
การป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำ
- ใส่รองเท้าที่เหมาะสมและมีการรองรับที่ดี
- หลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนเป็นเวลานานบนพื้นแข็ง
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
เครื่องมือที่ใช้ในการรักษา
เครื่อง HPLT (High power laser therapy)
เครื่อง TECAR Therapy (Transfer of Energy Capacitive and Resistive)