แชร์

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus, HNP)

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
102 ผู้เข้าชม

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus, HNP) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น "หมอนรองกระดูกเคลื่อน" คือภาวะที่เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังถูกกดทับหรือเคลื่อนที่ออกมาจากตำแหน่งเดิม ทำให้ไปกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดร้าวที่หลังและขาหรือแขน

สาเหตุของโรค
- การเสื่อมของหมอนรองกระดูก: การใช้งานที่นานและการเสื่อมสภาพตามอายุ

- การบาดเจ็บ: การยกของหนัก, การบิดตัวอย่างรุนแรง, อุบัติเหตุ

- พฤติกรรมเนือยนิ่ง: การนั่ง และการนอนเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรง ส่งผลให้ความมั่นคงของแนวกระดูกสันหลังลดลง เพิ่มโอกาสการเคลื่อนออกของหมอนรองกระดูกสันหลังได้

- ปัจจัยเสี่ยง อื่นๆ: น้ำหนักตัวเกิน, สูบบุหรี่, พฤติกรรมนั่งหรือยืนในท่าทางที่ไม่เหมาะสม

ระดับความรุนแรงของโรค

- Disc bulging (ปูด): เริ่มมีการเคลื่อนของส่วนประกอบในหมอนรองกระดูกสันหลัง และยังไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อด้านนอก

- Disc prolapse (เคลื่อน): หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิมมากขึ้น และยังไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อด้านนอก

- Disc extrusion (อัด): มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อด้านนอก และส่วนประกอบในหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาจากฐานของส่วนประกอบในหมอนรองกระดูกสันหลังมายังช่องกระดูกสันหลัง เริ่มกดทับเส้นประสาท

- Disc sequestration (หลุด): มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อด้านนอก ส่วนประกอบในหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาจนไม่เชื่อมต่อกับหมอนรองกระดูกสันหลัง และกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง

อาการแสดงของโรค

- ปวดหลัง ร่วมกับร้าวลงแขนหรือขาตามรากประสาทที่ถูกกดทับ

- การรับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการชา (numbness) และซ่า (tingling) ตามบริเวณที่เส้นประสาทมาเลี้ยง

- กล้ามเนื้อแขน และขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทที่ถูกกดทับจะอ่อนแรง

- มีอาการปวดเพิ่มขึ้นขณะขยับเคลื่อนไหว ไม่สามารถเหยียดหลังตรงหรือก้มตัวได้ เปลี่ยนท่าทางลำบาก

- มีอาการปวดหลังร้าวมากขึ้น ขณะไอ หรือจาม

- มีปัญหาในการควบคุมปัสสาวะ หรืออุจจาระ

การรักษาทางกายภาพบำบัด

- การลดปวด ลดอาการชา และลดการกดทับของหมอนรองกระดูกต่อตัวเส้นประสาท โดยการรักษาด้วยเทคนิคการจัด ดัด ดึงข้อต่อ และการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย

- การออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลัง

- การปรับพฤติกรรม เปลี่ยนท่าทางขณะนั่งทำงาน วิธีการยกของหนัก และไม่อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ

เครื่องที่ใช้ในการรักษา 

เครื่อง PMS ( Peripheral Magnetic Stimulation )

เครื่อง TECAR Therapy (Transfer of Energy Capacitive and Resistive)

เครื่อง HPLT (High power laser therapy)


บทความที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมที่ช่วยในโรคนอนไม่หลับ
โรคนอนไม่หลับเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย เป็นได้ตั้งแต่ วัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอายุ สาเหตุของโรคนอนไม่หลับนั้นหลากหลาย รวมถึงปัจจัยทางกายภาพ จิตใจ และพฤติกรรม
นิ้วล็อค รักษาได้ รู้เร็ว หายเร็ว!
โรคนิ้วล็อค (Stenosing Tenosynovitis) หรือที่เรียกว่า Trigger finger เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบของเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อบริเวณนิ้วมือ ทำให้เกิดการตีบหรือการล็อคของนิ้วเมื่อมีการงอหรือเหยียดออก โดยอาการจะเริ่มจาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ
โรคเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervains tenosynovitis)
โรคที่เกิดอาการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นและเอ็นที่อยู่บริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ ปลอกหุ้มเอ็นที่หุ้มรอบเอ็นเหล่านี้จะหนาขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของเอ็นภายในปลอกหุ้ม ส่งผลให้มีอาการปวดและบวมบริเวณข้อมือและฐานของนิ้วหัวแม่มือ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy