ภาวะข้อไหล่ติด (Adhesive Capsulitis)หรือ Frozen shoulder
ภาวะข้อไหล่ติด (Adhesive Capsulitis)
ภาวะข้อไหล่ติด (Adhesive Capsulitis) หรือ Frozen shoulder
เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อไหล่ลดลงเนื่องจากการแข็งตัวและการหนาขึ้นของพังผืดที่อยู่รอบๆข้อต่อ ทำให้เกิดความเจ็บปวดและจำกัดการเคลื่อนไหวของไหล่ โดยในช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากในขณะเคลื่อนไหว จากนั้นอาการปวดจะค่อยๆ ลดลงและเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มองศา จนสุดท้ายการเคลื่อนไหวข้อไหล่จะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็วถ้าได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
อาการ
อาการปวดมักเริ่มที่บริเวณไหล่ และสามารถปวดร้าวไปยังแขนได้ อาการปวดอาจรุนแรงขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวข้อไหล่หรือในเวลากลางคืนข้อไหล่จะเคลื่อนไหวได้น้อยลงทั้งในขณะที่มีการเคลื่อนไหวแบบกิจกรรมทั่วไป (active motion) และเมื่อมีการเคลื่อนไหวโดยมีผู้ช่วย (passive motion)
เมื่อเคลื่อนไหวข้อไหล่น้อยลง กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่อาจอ่อนแรงลง
สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- การบาดเจ็บหรือการผ่าตัดที่ทำให้ต้องใช้งานไหล่น้อยลงเป็นระยะเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะนี้
ภาวะอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคพาร์กินสัน ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้
- การไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่เป็นเวลานาน อาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการใช้งานไหล่น้อยลงด้วยเหตุผลอื่นๆระยะของภาวะข้อไหล่ติดมักแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1: ระยะการแช่แข็ง (Freezing Stage) ระยะนี้อาจยาวนาน 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือน อาการปวดไหล่เริ่มรุนแรงและการเคลื่อนไหวไหล่เริ่มจำกัด
ระยะที่ 2: ระยะการติดแข็ง (Frozen Stage) ระยะนี้อาจยาวนาน 4 ถึง 12 เดือน อาการปวดอาจลดลง แต่การเคลื่อนไหวยังคงจำกัดอย่างมาก การเคลื่อนไหวของไหล่ที่จำกัดทำให้กิจกรรมในชีวิตประจำวันยากขึ้น
ระยะที่ 3: ระยะการละลาย (Thawing Stage)ระยะนี้อาจยาวนาน 6 เดือนถึง 2 ปี การเคลื่อนไหวของไหล่จะเริ่มกลับมาดีขึ้นอย่างช้าๆ และอาการปวดจะค่อยๆ หายไป
การวินิจฉัยมักจะใช้การตรวจร่างกายและการซักประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย แพทย์และนักกายภาพบำบัดอาจทำการตรวจเพิ่มเติมเช่น
X-ray: เพื่อดูว่ามีปัญหาหรือการบาดเจ็บอื่นๆ ในข้อต่อไหล่หรือไม่
MRI หรือ Ultrasound: เพื่อดูเนื้อเยื่อรอบๆข้อต่อว่ามีการบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด
การรักษา
ระยะที่ 1 Freezing Stage
จะเน้นที่การลดอาการอักเสบและอาการปวดเป็นหลัก ร่วมกับเคลื่อนไหวโดยนักกายภาพบำบัด (passive exercise) ในองศาที่ไม่กระตุ้นในเกิดอาการเจ็บปวดและอักเสบเพิ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวดในระยะแรก
เครื่อง HPLT (High power laser therapy)
เครื่อง TECAR Therapy (Transfer of Energy Capacitive and Resistive)
ระยะที่ 2 Frozen Stage
เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวข้อไหล่ ลดอาการปวด เพิ่มความยืดหยุ่ดของเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ และออกกำลังกายกล้ามเนื้อข้อไหล่แบบมีแรงช่วย (active assisted exercise)
เครื่องมือที่ใช้ในการช่วยลดอาการปวด เพิ่มความยืดหยุ่ดในระยะสอง
เครื่อง PMS (Peripheral Magnetic Stimulation)
เครื่อง TECAR Therapy (Transfer of Energy Capacitive and Resistive)
เครื่อง Focus Shockwave (FSWT)
ระยะที่ 3 Thawing Stage
เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในช่วงสุดท้ายด้วยการดัด ดึงข้อ(Mobilization) และออกกำลังกายกล้ามเนื้อข้อไหล่แบบมีแรงต้าน (resisted exercise)
เครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเพิ่มความแข็งแรง เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในระยะสาม
เครื่อง PMS (peripheral magnetic stimulation)
เครื่อง Focus Shockwave (FSWT)
การรักษาภาวะข้อไหล่ติด ต้องใช้เวลาและความอดทน อาการของโรคนี้มักจะดีขึ้นอย่างช้าๆ และการฟื้นฟูอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้รักษาอย่างถูกต้องเพื่อให้การรักษาฟื้นฟูเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว