แชร์

ต้นกำเนิดการรักษาด้วย TMS

อัพเดทล่าสุด: 19 ธ.ค. 2024
158 ผู้เข้าชม

การกระตุ้นศีรษะด้วยคลื่นแม่เหล็ก (Transcranial Magnetics Stimulation : TMS) 

       เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1985 ได้มีการผลิตเครื่อง TMS ขึ้นมาครั้งแรก โดยเครื่องต้นแบบนั้นตัวแม่เหล็กจะมีลักษณะเป็นวงแหวนขนาดใหญ่ที่จะปล่อยคลื่นออกมาเป็นจังหวะ เรียกว่า  Pulse Electromagnetic Field คลื่นที่ออกมาจะเป็นจังหวะไม่ต่อเนื่อง 

      เป็นคลื่นแม่เหล็กที่ผ่านกระบวนการทางไฟฟ้าที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดบริเวณหัว coil ของเครื่อง โดยใช้หลักการกฏการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์จนเกิดคลื่นออกมาแต่เป็นความแรงคลื่นที่ต่ำ ทำให้ใช้เวลาในการรักษานานมาก ส่งผลต่อผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ชัดเจนมากนัก จากที่กล่าวมาข้างต้นนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือให้มีความแรงที่สูงขึ้น ใช้เวลาน้อยลงและเห็นผลลัพธ์การรักษาอย่างชัดเจน

      ในปี ค.ศ. 2008 TMS ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administration) หรือเรียกว่า FDA เริ่มแรกได้มีการนำ TMS มาใช้ทำการรักษากลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่มาก่อน ซึ่งใช้การรักษาในกลุ่มคนไข้โรคซึมเศร้าที่มีอาการดื้อยาหรือมีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต่ำ จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่รักษาด้วย TMS มีการตอบสนองมากถึง 27% ในขณะที่กลุ่มที่รักษาด้วยยานั้นมีการตอบสนองเพียงแค่ 21% เท่านั้น ต่อมามีการพัฒนาการรักษาด้วย TMS มาเรื่อย ๆ จนทำให้ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษานี้ได้ผลมากถึง 70% - 80% บางรายไม่มีอาการเป็นระยะเวลานานหรือมีโอกาสหายขาดจากโรคเลย 

       หลังจากนั้นภายในปี ค.ศ. 2010 ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการนำ TMS มาทำการรักษาในเด็กกลุ่มโรคออทิสติก และปี ค.ศ. 2013 ประเทศจีน มณฑลเสฉวน โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ศาสตราจารย์ Zheng Zhong ได้นำ TMS มาใช้รักษาเด็กในกลุ่มโรคออทิสติกเช่นกัน เนื่องจากประเทศจีนมีจำนวนเด็กออทิสติกมากที่สุดในโลก

       สถาบันสหภาพสากล (International Federation of Clinical Neurophysiology : IFCN) หรือกลุ่มที่รวบรวมงานวิจัย เรียกว่า European Expert ได้มีการจัดประชุมร่วมกันหลายประเทศเพื่อรวบรวมงานวิจัยต่าง ๆ สามารถรวบรวมข้อมูลย้อนหลังไปจนถึงปี ค.ศ. 2014 และมีข้อสรุปครั้งแรกของโลกว่า เครื่องกระตุ้นศีรษะด้วยคลื่นแม่เหล็กมีแนวทางการรักษาโรคต่าง ๆ เป็นมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน ออกมาเป็นฉบับแรกและมีการทบทวนฉบับที่ 2 ตอนปี ค.ศ. 2018 เนื่องจากมีงานวิจัยเกี่ยวกับ TMS ที่เพิ่มมากขึ้นมากมาย 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จัก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง  (spinal cord injury, SCI)
การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังที่อยู่ในโพรงกระดูกหลัง (spinal canal) ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้การส่งสัญญาณระหว่างสมองและร่างกายถูกขัดขวาง การบาดเจ็บนี้สามารถนำไปสู่การสูญเสียการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและการรับความรู้สึกในบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่อยู่ต่ำกว่าจุดที่เกิดการบาดเจ็บไขสันหลังนั้นควบคุม
โรคหลอดเลือดสมอง ภัยร้ายที่ควรป้องกัน!!!
โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนหนึ่งของสมองถูกขัดขวาง ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การทำลายเซลล์สมองอย่างรวดเร็ว
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy