แชร์

เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?

อัพเดทล่าสุด: 24 ก.พ. 2025
371 ผู้เข้าชม

เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?

      เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราสามารถฝึกฝนและแก้ไขการเขียนตัวอักษรกลับด้านได้ แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหานี้ก่อน

สาเหตุของการเขียนตัวอักษรกลับด้าน

      การเขียนตัวอักษรกลับด้าน เกิดจากความผิดปกติของการรับรู้ทางสายตา (Visual Perception) โดยเด็กจะมีปัญหาด้านการแยกแยะตำแหน่งของวัตถุและการรับรู้ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อทักษะด้านการเขียน ได้แก่

· ไม่สามารถแยกแยะตำแหน่ง ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง บน-ล่าง ในการเขียนตัวอักษรได้อย่างถูกต้อง

· ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของตัวอักษรที่คล้ายกัน เช่น ม-น ภ-ถ ค-ด ได้

· ไม่สามารถค้นหาตัวอักษรหรือข้อความที่อยู่ในหน้ากระดาษได้

กิจกรรมที่ช่วยแก้ไขการเขียนตัวอักษรกลับด้าน

· กิจกรรมแยกแยะความแตกต่างเรื่องทิศทาง เช่น กิจกรรมฐานเดินบนก้อนหินตามทิศทางต่าง ๆ ซ่อนของตามคำใบ้ทิศทางที่กำหนด

· กิจกรรมแยกแยะสิ่งที่คล้ายกัน เช่น กิจกรรมหาตัวอักษรที่ต่างจากพวก กิจกรรมหาของจากภาพ

· กิจกรรมการเขียน เช่น การเขียนตัวเลขและตัวอักษรตามรอยเส้นประ

แนวทางการฝึกฝนการเขียนตัวอักษรกลับด้าน

· จัดเวลาในการฝึกอย่างเหมาะสม ไม่หนักหรืออัดแน่นจนเกินไป และฝึกฝนทุกวันอย่างสม่ำเสมอ

· เน้นใช้วิธีการและกิจกรรมที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกว่าถูกกดดันจนเกิดความเครียดมากเกินไป

· ให้เวลาในการเรียนรู้และฝึกฝน วางแผนให้เด็กได้แสดงความสามารถของตนเอง เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในการเขียนมากขึ้น

      อย่างไรก็ตาม หากพบว่าเด็ก ๆ มีการเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกแล้ว ผู้ปกครองควรให้กำลังใจและช่วยกันส่งเสริมทักษะการเขียนของเด็กให้ดีขึ้น ไม่ควรกดดันหรือบังคับเด็กจนเกินไป เนื่องจากปัญหานี้ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเพื่อประเมินปัญหาและวางแผนการฝึกฝนต่อไป


บทความที่เกี่ยวข้อง
กิจวัตรประจำวัน เรื่องเล็ก ๆ ที่สำคัญ
การช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน เป็นทักษะสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กมีพื้นฐานที่ดี เพราะกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กทุกคนต้องทำประจำไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหาร การแต่งกาย การขับถ่าย และการดูแลความสะอาดของร่างกาย
เมื่อลูกกินยาก ทำอย่างไรดี
เมื่อเด็กเข้าสู่ช่วงวัย 1 - 3 ปี เป็นวัยที่มีความคิดเป็นของตัวเองค่อนข้างสูง เริ่มรู้จักความต้องการของตนเอง รู้จักการปฏิเสธมากขึ้น ปัญหาที่มาจากการที่เด็กเริ่มรู้จักตัวเองมากขึ้น คือ เลือกกิน กินยาก เบื่ออาหาร และไม่ยอมกินอาหาร
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy