แชร์

เมื่อลูกกินยาก ทำอย่างไรดี

อัพเดทล่าสุด: 11 พ.ย. 2024
85 ผู้เข้าชม

         เมื่อเด็กเข้าสู่ช่วงวัย 1 - 3 ปี เป็นวัยที่มีความคิดเป็นของตัวเองค่อนข้างสูง เริ่มรู้จักความต้องการของตนเอง รู้จักการปฏิเสธมากขึ้น ปัญหาที่มาจากการที่เด็กเริ่มรู้จักตัวเองมากขึ้น คือ เลือกกิน กินยาก เบื่ออาหาร และไม่ยอมกินอาหาร ซึ่งปัญหานี้เป็นความกังวลใจของผู้ปกครองที่ส่งผลต่อความเครียดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บังคับให้ลูกทานอาหารให้ได้ตามเกณฑ์โภชนาการ ในวัยทารกก่อนถึงอายุ 1 ปี เด็กต้องทานอาหารที่มีลักษณะอ่อนนิ่ม พออายุ 1 ปีขึ้นไป เริ่มมีการปรับอาหารให้มีลักษณะที่แข็งขึ้น ทำให้ต้องใช้ฟันบดเคี้ยวอาหาร เป็นความพยายามในการทานอาหารที่ยากกว่าการดูดนม ทำให้เด็กต้องใช้เวลาปรับตัวในการทานอาหารมากขึ้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กปฏิเสธอาหารได้

ปัญหาที่พบบ่อย

1. เลือกทานแต่อาหารที่ตนเองชอบ และไม่สนใจลองอาหารใหม่ ๆ

2. เมื่อนำอาหารที่เด็กไม่ชอบมาจัดใส่จาน เด็กมักจะเขี่ยอาหารออก

3. ปฏิเสธการทานอาหาร มีความสนใจในการทานอาหารน้อยลง หรือเบื่ออาหาร

4. เลือกทานแต่ขนมกรุบกรอบ ไม่สนใจทานอาหารมื้อหลัก

5. อมข้าวค้างไว้ในปากนาน ๆ เมื่อป้อนคำใหม่แล้วไม่ยอมเคี้ยวจนกักอาหารไว้ในปากเป็นคำโต

6. ทานอาหารช้า เคี้ยวได้ทีละน้อย ๆ ทำให้ใช้เวลาในการทานอาหารนานเป็นชั่วโมง

แนวทางการปรับพฤติกรรม

1. ควรลดปริมาณขนม อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลก่อนมื้ออาหารหลัก เพราะจะทำให้เด็กอิ่มก่อน

2. ระหว่างวันควรจำกัดปริมาณขนมที่เด็กทานต่อวัน เพื่อให้เด็กทานอาหารได้ครบปริมาณที่ควรได้รับต่อมื้อ

3. จัดสรรปริมาณนมและอาหารมื้อหลักให้สมดุลกัน เนื่องจากในเด็กที่ไม่อยากทานอาหาร มักชอบทานนมในปริมาณที่เยอะกว่า ทำให้เด็กอิ่มก่อนมื้ออาหารจริง

4. ส่งเสริมให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำอาหาร เช่น ช่วยล้างผัก หยิบวัตถุดิบตามคำบอก จัดจานบนโต๊ะ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้มีความรู้สึกอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น

5. ฝึกให้เด็กรับผิดชอบอาหารของตนเอง โดยคนในครอบครัวนั่งรับประทานอาหารพร้อมกัน สามารถลุกออกจากเก้าอี้ได้เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วเท่านั้น

6. จัดปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับเด็ก กล่าวชมเมื่อเด็กรับประทานอาหารหมด

7. ไม่ควรบังคับ ต่อว่า หรือดุ เมื่อเด็กทานข้าวไม่หมด เพราะจะทำให้เด็กมีภาพจำที่ไม่ดีกับการทานข้าว และหลีกเลี่ยงปัญหาการปฏิเสธอาหารที่อาจตามมา

8. ผู้ปกครองควรสร้างกฏ กติกาการรับประทานอาหารร่วมกันในบ้าน ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กปฏิบัติตาม

9. หากเด็กไม่ชอบอาหารบางชนิด ควรเริ่มจากการดัดแปลงอาหารชนิดนั้น ๆ แล้วจัดจานบนโต๊ะให้เด็กได้ลองสัมผัสอาหารที่ไม่ชอบในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้การที่ผู้ปกครองร่วมทานอาหารแบบเดียวกับเด็ก ช่วยส่งเสริมให้เด็กอยากเรียนรู้ อยากลองชิมอาหารที่ผู้ปกครองทานเหมือนกันอีกด้วย

10. เลือกภาชนะใส่อาหารให้มีสีสันน่ารัก หรืออาจเป็นภาพลายการ์ตูนที่เด็กโปรดปราน โดยให้เด็กได้มีการตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง เพื่อเป็นการกระตุ้นความอยากอาหารของเด็กได้อีกด้วย

อ้างอิง
บานชื่น สุวรรณเทพ. (2556). พัฒนาการการกินอาหารในเด็ก. ตำราพัฒนาการเด็กและพฤติกรรมเด็ก, 3, หน้า 139-155.
วิฐารณ บุญสิทธิ. (2538). ปัญหาการกินในเด็ก. ตำราจิตเวชเด็กสำหรับกุมารแพทย์ (ฉบับปรับปรุง), หน้า 104-109.

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy