แชร์

ทำไมเด็กถึงชอบดูดนิ้ว แก้ไขได้อย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 11 พ.ย. 2024
101 ผู้เข้าชม

พฤติกรรมการดูดนิ้วคืออะไร

      การดูดนิ้ว (Thumb Sucking) เป็นพฤติกรรมที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยเด็กมักจะแสดงพฤติกรรมนี้เมื่ออายุ 18 สัปดาห์ และควรจะลดลงจนหายไปเอง เมื่ออายุ 2 - 4 ปี

ทำไมเด็กถึงชอบดูดนิ้ว

      การดูดนิ้วเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านการเล่นในเด็กวัยนี้ ซึ่งเด็กจะเล่นผ่านประสาทสัมผัส โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อสำรวจสิ่งรอบตัว เด็กบางคนแสดงพฤติกรรมการดูดนิ้วเพื่อกระตุ้นตัวเอง (Self-Stimulation) เมื่อรู้สึกเบื่อ หรือเรียกร้องความสนใจ เด็กบางคนใช้เพื่อปลอบตนเอง (Self-Shooting) เมื่อรู้สึกไม่สบาย เครียด กังวล รวมทั้งการดูดนิ้วยังใช้แทนการสื่อสารว่า หิว ได้อีกด้วย

การดูดนิ้วมีผลเสียอย่างไร

เด็กที่อายุ 4 ปี แล้ว แต่ยังมีพฤติกรรมการดูดนิ้วอยู่อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟัน เช่น การสบกันของฟัน เยื่อบุช่องปากเกิดการบาดเจ็บ
  • ปัญหาเกี่ยวกับนิ้วมือและเล็บ เช่น การติดเชื้อจากการที่มือสัมผัสสิ่งสกปรก นิ้วมือผิดรูป

แนวทางในการช่วยเหลือและแก้ไขพฤติกรรมการดูดนิ้ว

  • ให้ความรู้กับผู้ปกครองว่าการดูดนิ้วเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามวัย และสามารถหายได้เอง
  • เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมการดูดนิ้ว ให้เบี่ยงเบนความสนใจไปสู่การทำกิจกรรมอื่นที่ใช้มือ เช่น การปั้นดินน้ำมัน การเล่นต่อบล็อก การร้อยลูกปัด หยิบของใส่ถ้วย หรือระบายสี
  • หากเด็กแสดงพฤติกรรมมากขึ้น ควรหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากความไม่สบายใจในเรื่องใด เช่น การเข้าโรงเรียน การพบเจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy