แชร์

คุณภาพการนอนในวัยเด็กควรเป็นอย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 8 พ.ย. 2024
132 ผู้เข้าชม

        คุณภาพการนอน เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ความคิด และอารมณ์ของเด็ก ซึ่งปัญหาการนอนที่พบ ได้แก่ ไม่ยอมเข้านอน นอนดึก ตื่นกลางดึก และนอนละเมอ โดยพื้นฐานการเสริมสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดี สามารถเริ่มได้จากการฝึกปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องส่งเสริมคุณภาพการนอนที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการนอนในเด็ก

1. ตัวเด็ก เด็กอาจมีความรู้สึกไม่สบายตัวจากอาการทางร่างกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว เป็นไข้

2. สิ่งแวดล้อมในสถานที่ที่เด็กนอน อาจมีเสียงดังรบกวน แสงสว่างจ้า และมีของเล่นในห้องนอน

เด็กควรนอนวันละกี่ชั่วโมง (รวมชั่วโมงนอนกลางวัน)

· วัยทารก -1 ปี ควรนอน 12-15 ชั่วโมงต่อวัน ให้เริ่มฝึกนอนตอนกลางคืนให้นานขึ้น ลดจำนวนมื้อการกินนมตอนกลางคืนลง

· 1-2 ปี ควรนอน 11-14 ชั่วโมงต่อวัน

· 3-5 ปี ควรนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน

แนวทางการส่งเสริมสุขนิสัยการนอนที่ดี มีอะไรบ้าง

1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น ชาเขียว ช็อกโกแลต หรือการกินจนอิ่มมากเกินไปในช่วงเย็น เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เด็กหลับยากขึ้น

2. จัดตารางกิจกรรมให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ โดยให้ลูกเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลา

3. สร้างกิจวัตรประจำวันก่อนนอนด้วยกิจกรรมที่ให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย เช่น อ่านนิทาน ร้องเพลงกล่อมนอน

4. ควรจัดส่วนของเล่นแยกกับห้องนอน เพื่อสร้างการเตรียมความพร้อมสู่การนอนหลับพักผ่อน สามารถช่วยลดปัญหาไม่ยอมนอน การปฏิเสธเพราะห่วงเล่น

5. สิ่งแวดล้อมในห้องควรเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน และควรปิดไฟมืดสนิทเมื่อถึงเวลาเข้านอน

         หากเด็กมีการคุณภาพการนอนที่ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ตามมา เช่น ซน อยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว เป็นต้น ดังนั้นการฝึกให้เด็กเข้านอนและตื่นเป็นเวลาจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้สมวัยยิ่งขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy