แชร์

Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก

อัพเดทล่าสุด: 19 ธ.ค. 2024
173 ผู้เข้าชม

Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก

          อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง ซึ่งภาพที่เห็นและเสียงที่ได้ยินนั้นจะมีความชัดเจนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการควบคุมคลื่นสมองให้เหมาะสม ณ ขณะนั้น


          จากการรวบรวมงานวิจัยของ Lothar และคณะ ในปี ค.ศ. 2020 พบว่า มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการรักษาด้วย Neurofeedback ทั้งหมด 587 งานวิจัย โดยมีเด็กออทิสติกเข้าร่วมทำการรักษามากถึง 443 คน ผลการวิจัยพบว่า 94% ของเด็กออทิสติกที่ทำการรักษาด้วย Neurofeedback มีผลลัพธ์การรักษาเป็นไปในทางที่ดีและมีผลการรักษาในระยะยาว
          และงานวิจัยของ Tarek ในปี ค.ศ. 2021 ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาด้วย Neurofeedback ในเด็กออทิสติก 2 กลุ่ม เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Function) ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มที่ทำการรักษาด้วย Neurofeedback มีผลทำให้ความรู้ความเข้าใจดีขึ้นเมื่อเทียบกันระหว่างก่อนและหลังการรักษา นอกจากนั้นความสามารถด้านความคิด ด้านสมาธิ และการเข้าสังคมก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
          จากงานวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วย Neurofeedback สามารถช่วยให้เด็กออทิสติกมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นและผลของการรักษาสามารถอยู่ได้ในระยะยาวอีกด้วย

Neurofeedback สามารถทำการรักษาร่วมกับ TMS ได้หรือไม่?

          งานวิจัยของ Estate ที่ทำร่วมกันกับ Dr. Manuel ใช้การรักษาด้วย TMS โดยการกระตุ้นสมองเพื่อระงับเซลล์ประสาทที่ทำงานไม่สมดุล 8-10 นาที จากนั้นทำการรักษาด้วย Neurofeedback เพื่อยับยั้งคลื่นที่ทำให้สมองมีความตื่นตัวสูงมาก ด้วยการเล่นเกม 15-20 นาที ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มที่ทำการรักษาด้วย TMS ร่วมกับ Neurofeedback มีความผิดพลาดในการเล่นเกมน้อยมากเมื่อเทียบกันระหว่างก่อนและหลังการรักษา ซึ่งแปลว่า Neurofeedback สามารถทำร่วมกับ TMS ได้ โดยการรักษาทั้งสองอย่างนี้ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันทำให้ผลลัพธ์การรักษาดียิ่งขึ้น

อ้างอิง
Hoogdalem, Lothar & Feijs, Hanneke & Bramer, Wichor & Ismail, Sohal & Van Dongen, Josanne. (2020). The Effectiveness of Neurofeedback Therapy as an Alternative Treatment for Autism Spectrum Disorders in Children: A Systematic Review. Journal of Psychophysiology. 35. 1-14. 10.1027/0269-8803/a000265.

Mekkawy L. (2021). Efficacy of neurofeedback as a treatment modality for children in the autistic spectrum. Bulletin of the National Research Centre, 45(1), 45.

Sokhadze, E. M., El-Baz, A. S., Tasman, A., Sears, L. L., Wang, Y., Lamina, E. V., & Casanova, M. F. (2014). Neuromodulation integrating rTMS and neurofeedback for the treatment of autism spectrum disorder: an exploratory study. Applied psychophysiology and biofeedback, 39(3-4), 237257.

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
กล้ามเนื้อมัดเล็กนั้น... สำคัญไฉน
กล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor) คือ ส่วนของกล้ามเนื้อตั้งแต่ข้อมือ ฝ่ามือ ไปจนถึงนิ้วมือ เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการหยิบจับสิ่งของ และออกแรงเพื่อควบคุมทิศทางในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy