แชร์

ผลการรักษาด้วย TMS ในเด็กออทิสติก

อัพเดทล่าสุด: 19 ธ.ค. 2024
166 ผู้เข้าชม

ผลการรักษาด้วย TMS ในเด็กออทิสติก

      ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาผลการรักษาด้วย TMS ในเด็กออทิสติกอย่างแพร่หลาย จากงานวิจัยของ Ali และคณะ พบว่าการรักษาด้วย TMS ทำให้อาการของเด็กออทิสติกดีขึ้น ทั้งด้านพฤติกรรมซ้ำ การเข้าสังคม และสติปัญญาขั้นสูง และตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา นพ.ปัณณวิชญ์ วงศ์วิวัฒนานนท์ ได้มีประสบการณ์การดูแลและให้การรักษาด้วย TMS ในเด็กออทิสติก มากกว่า 900 คน พบว่าการรักษาด้วย TMS ร่วมกับการฝึกพัฒนาการด้านอื่น ๆ ช่วยทำให้อาการหลักของเด็กออทิสติกดีขึ้นและช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งอาการหลักทั้ง 3 ด้านของออทิสติก ได้แก่

  • ด้านภาษา : ไม่ส่งเสียง ไม่เล่นเสียง ไม่พูดคำที่มีความหมาย พูดภาษาการ์ตูน ใช้ท่าทางเพื่อแสดงความต้องการแทนการพูด
  • ด้านการเข้าสังคม : มีปัญหาปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ไม่มองหน้าสบตา ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก แยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ไม่เข้าใจการสื่อสารทางสายตา สีหน้า และท่าทาง 
  • ด้านพฤติกรรมจำกัด : มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ (กระตุ้นตัวเอง) เช่น กระโดด สะบัดมือ เล่นมือ หมุนตัว เดินเขย่ง โยกตัว ชอบเรียงวัตถุต่อกัน กินอาหารแบบเดิม

    โดยการตอบสนองและผลการรักษาในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป แต่สามารถแบ่งผลการรักษาด้วย TMS ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

ดีมาก (25%) : เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ เช่น บอกความต้องการได้ชัดเจน พูดเป็นประโยค เล่าเรื่องสั้น ๆ และตอบคำถามแบบ 5W1H ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม (บางกลุ่มยังคงมาทำรักษาต่อเนื่อง บางกลุ่มขอหยุดการรักษาเนื่องจากผู้ปกครองพึงพอใจในผลลัพธ์และต้องการให้เด็กเข้าโรงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการเข้าสังคม)

ดี, ปานกลาง (50%) : เห็นการเปลี่ยนแปลงมากหรือปานกลาง เด็กมีพัฒนาการหลายอย่างหรือบางอย่างที่ดีขึ้น เช่น สบตามากขึ้น เข้าใจและทำตามคำสั่งได้ดีขึ้น สนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เริ่มพูดคำที่มีความหมาย (ยังคงมาทำการรักษาต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิม)

ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (25%) : เห็นการเปลี่ยนแปลงน้อย เด็กมีพัฒนาการเท่าเดิมหรือดีขึ้นเล็กน้อย (หยุดการรักษาไปแล้ว โดยมีปัจจัยหลัก คือ ไม่สามารถมาทำการรักษาอย่างต่อเนื่องได้ ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง และ ไม่ได้ฝึกพัฒนาการอื่น ๆ ร่วมด้วย)

      ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) มีผลลัพธ์ในการรักษาเป็นไปในทิศทางที่ค่อนข้างดี เห็นการเปลี่ยนแปลงในระดับปานกลาง ดี และดีมาก มากถึง 75% แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุด คือควรทำการรักษาอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการฝึกพัฒนาการไปด้วย เช่น กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด การปรับพฤติกรรม เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

อ้างอิง :
Khaleghi, A., Zarafshan, H., Vand, S. R., & Mohammadi, M. R. (2020). Effects of Non-invasive Neurostimulation on Autism Spectrum Disorder: A Systematic Review. Clinical psychopharmacology and neuroscience : the official scientific journal of the Korean College of Neuropsychopharmacology, 18(4), 527552. https://doi.org/10.9758/cpn.2020.18.4.527

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy