แชร์

ความหุนหันพลันแล่นและความก้าวร้าวในเด็กออทิสติกมีสาเหตุมาจากอะไร?

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
178 ผู้เข้าชม

ความหุนหันพลันแล่นและความก้าวร้าวในเด็กออทิสติกมีสาเหตุมาจากอะไร?

     อย่างที่เราทราบกันดีว่า การกระตุ้นตัวเอง เป็นอาการสำคัญที่นำมาสู่การวินิจฉัยโรคออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) โดยการกระตุ้นตัวเองเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการประมวลผลประสาทความรู้สึก (Sensory Processing) ความผิดปกติของการรับรู้ทางประสาทความรู้สึกที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปทำให้เกิดการกระตุ้นตัวเอง เช่น การโยกตัว หมุนตัว สะบัดมือ เขย่งเท้า เป็นต้น

     การกระตุ้นตัวเองมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่น่าเป็นห่วงและเป็นอันตรายต่อตัวเด็กมากที่สุด คือ ความหุนหันพลันแล่น (Impulsive) มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเปลือกสมองส่วนหน้า (Dorsolateral Prefrontal Cortex) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสติปัญญาขั้นสูง (Executive Function) ทำให้ความสามารถในการบริหารจัดการ การวางแผน การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และการควบคุมอารมณ์บกพร่องไป เด็กจึงมักจะโมโหง่าย ตัดสินใจทำอะไรรวดเร็วโดยที่ไม่ยั้งคิด ไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น แสดงออกด้วยคำพูดหรือท่าทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งความหุนหันพลันแล่นเหล่านี้อาจนำไปสู่ความก้าวร้าว การทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่นได้

     ความก้าวร้าว (Aggressive) เป็นพฤติกรรมต่อเนื่องมาจากความหุนหันพลันแล่น เด็กบางคนทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่น เนื่องจากประมวลผลและตอบสนองต่อการรับรู้ทางประสาทความรู้สึกไม่เหมาะสม เช่น เด็กเกิดความรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณท้องแต่ตอบสนองโดยการเอาศีรษะไปโขกกับกำแพงหรือผนัง เพื่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บที่ศีรษะแทนการเจ็บปวดที่เด็กกำลังรู้สึกอยู่ 

     ดังนั้นผู้ปกครองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสังเกตรายละเอียด ค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เด็กแสดงออกมา ฝึกฝนพัฒนาการและพฤติกรรมทุกด้านตามช่วงอายุ เพื่อให้แสดงออกได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากในเด็กกลุ่มนี้มักจะแสดงออกด้านพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ลงไปดิ้นกับพื้น ร้องโวยวาย เรียกร้องความสนใจเมื่อถูกขัดใจหรือไม่ได้ดั่งใจ หากผู้ปกครองตามใจหรือตอบสนองต่อการกระทำนั้น เด็กจะเรียนรู้และใช้พฤติกรรมนี้ทุกครั้ง ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการทำให้เด็กเรียนรู้ว่าสิ่งที่กำลังแสดงออกมาไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง โดยใช้วิธีการเพิกเฉยหรือไม่สนใจ (ignore) เมื่อเด็กไม่ได้รับการตอบสนองก็จะเรียนรู้ด้วยตนเองและไม่ใช้วิธีนี้ในการเรียกร้องความสนใจอีกต่อไป


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy