แชร์

ทำไมเด็กถึงกระตุ้นตัวเองอยู่ตลอดเวลา และ TMS ช่วยได้อย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 19 ธ.ค. 2024
246 ผู้เข้าชม

ทำไมเด็กถึงกระตุ้นตัวเองอยู่ตลอดเวลา และ TMS ช่วยได้อย่างไร

     สิ่งหนึ่งที่ผู้ปกครองกังวลใจเป็นอันดับต้น ๆ ในเด็กออทิสติก เป็นเรื่องของพฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง มักได้รับคำถามว่า ทำไมลูกกระตุ้นตัวเองตลอดเวลาเลยคะ แก้ไขยังไงได้บ้างคะ 

     จากที่เราทราบกันดีแล้วว่าพฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง เกิดจากความผิดปกติของการบูรณาการประสาทความรู้สึก ส่งผลให้เกิดการปรับตัวต่อสิ่งเร้าที่เข้ามาไม่เหมาะสม และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กระโดด สะบัดมือ หมุนตัว เดินเขย่ง เป็นต้น เมื่อเราทราบสาเหตุของปัญหาแล้ว ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง คือ สิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อม เป็นตัวส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองของเด็ก ซึ่งวิธีการปรับตัวต่อสิ่งเร้าของเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เช่น

- ปรับตัวโดยการหลีกเลี่ยงต่อสิ่งเร้าที่เข้ามามากเกินไป อยู่ในสถานที่ที่เสียงดังเกินไป สถานที่ที่คนเยอะ เด็กแสดงพฤติกรรมด้วยการปิดหู วิ่งหนี ร้องไห้

- ปรับตัวโดยการกระตุ้นตัวเองซ้ำ ๆ ด้วยท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้มีสมาธิกับตนเอง เป็นการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เด็กมีความรู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ

     หากพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองมีมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตและขัดขวางการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จำเป็นต้องวิเคราะห์และสังเกตสิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้ได้ว่าคืออะไร เพื่อลดสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ในการลดพฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง

     บางครั้งการกระตุ้นตัวเองในบางลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อตัวเด็ก เช่น นำศีรษะโขกกำแพง ตบหรือทุบศีรษะ ทุบอก หยิก และข่วน หากปล่อยให้เด็กทำพฤติกรรมเหล่านี้ซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่พฤติกรรมรุนแรงในอนาคตได้ แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไข้ผ่านการปรับพฤติกรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นอันตรายให้เป็นพฤติกรรมซ้ำที่ไม่อันตรายได้ 

TMS สามารถลดพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองได้จริงหรือไม่ 

     การกระตุ้นศีรษะด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง เพื่อปรับสมดุลระหว่างเซลล์กระตุ้นและเซลล์ระงับที่สมองโดยตรง รวมไปถึงการพิจารณาการวางโปรแกรมการรักษาของแพทย์ที่มีตำแหน่งกระตุ้นเรื่องของการรับความรู้สึก เนื่องจากพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองมีปัญหาเกี่ยวข้องกับการประมวลผลประสาทความรู้สึก ทำให้การทำ TMS เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองให้มีความถี่ในการทำพฤติกรรมนี้ลดลง





บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy