แชร์

การพูดเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองได้อย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
123 ผู้เข้าชม

การพูดเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองได้อย่างไร
       พฤติกรรมกระตุ้นตัวเองในเด็กออทิสติกมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการบูรณาการประสาทความรู้สึก ส่งผลให้การปรับตัวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ บกพร่องไป ซึ่งพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองเกี่ยวข้องกับการรับความรู้สึก มีทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น การรับรส  การรับรู้กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ การรับสัมผัส และการทรงตัว 
       จากที่ทราบสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองแล้ว อีกหนึ่งรูปแบบที่เจอได้บ่อย คือ การรับความรู้สึกด้านการได้ยิน แสดงออกมาเป็น พฤติกรรมกระตุ้นตัวเองด้วยเสียง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้วพฤติกรรมนี้รวมอยู่ในเรื่องของพฤติกรรมซ้ำหรือพฤติกรรมจำกัดด้วย 

ลักษณะของการกระตุ้นตัวเองด้วยเสียงมีหลายวิธี ได้แก่
- การส่งเสียงออกมาแบบที่ไม่มีความหมาย มีโทนเสียงเดียว หรือมีหลายโทนเสียงคล้ายกับการจำมาจากเพลงที่เคยฟัง ด้วยการส่งเสียงแบบเดิมซ้ำ ๆ วนไปมา เหมือนสนุกที่ได้ร้องเพลง ซึ่งแตกต่างจากการเล่นเสียงของเด็กทั่วไปตามพัฒนาการ ร่วมกับผลการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางร่วมด้วย

- การส่งเสียงหรือพูดคุยกันด้วยโทนเสียงสูงกว่าเสียงปกติของเด็ก จะสังเกตเห็นได้ชัดว่าเด็กจะมีเสียงต่ำที่เป็นระดับเสียงปกติ แต่ส่วนใหญ่เวลาส่งเสียงหรือคุยกับผู้อื่นมักจะใช้โทนเสียงสูงพูดคุยตลอด

- ในเด็กที่โต้ตอบบทสนทนา พูดเป็นประโยคได้แล้ว ส่วนใหญ่จะพบปัญหาการพูดทวนคำหรือประโยคเดิมบ่อย ๆ พูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ จนกว่าจะได้คำตอบหรือการตอบรับจากผู้อื่น แต่ถึงแม้จะได้รับการตอบรับคำพูดแล้ว แต่เด็กก็มักจะถามวนไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดอยู่ดี เป็นการพูดที่ไม่สนใจสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ส่งผลต่อทักษะการเข้าสังคมในอนาคต


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy