แชร์

พฤติกรรมกระตุ้นตัวเองคืออะไร สังเกตพฤติกรรมได้อย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
343 ผู้เข้าชม

พฤติกรรมกระตุ้นตัวเองคืออะไร สังเกตพฤติกรรมได้อย่างไร

      พฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง (Self-Stimulation) พบได้ในเด็กออทิสติก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้ปกครองมีความกังวลใจเป็นอย่างมาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของการประมวลผลประสาทความรู้สึก (Sensory Processing) ส่งผลต่อกระบวนการบูรณาการประสาทความรู้สึก (Sensory Integration Process) ในการปรับตัวต่อสิ่งเร้าที่เข้ามา เพื่อให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ หากเด็กได้รับสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นมากหรือน้อยเกินไป มักจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการเรียนรู้ในการแก้ปัญหานั้น ๆ  

      พฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง เป็นหนึ่งในอาการของพฤติกรรมซ้ำหรือพฤติกรรมจำกัดในเด็กออทิสติก เป็นลักษณะของการทำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำ ๆ ที่มีการเคลื่อนไหวของแขน ขา และลำตัว ซึ่งการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นี้มีการเคลื่อนไหวน้อยไปจนถึงการเคลื่อนไหวมาก และการมีพฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง ส่งผลให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างลดลงไปด้วย 

      พฤติกรรมกระตุ้นตัวเองที่พบได้บ่อย คือ กระโดด สะบัดมือ เล่นมือ หมุนตัว เดินเขย่ง โยกตัว เป็นต้น อาจพบพฤติกรรมทุกหัวข้อหรือพบพฤติกรรมบางหัวข้อก็ได้  
ลักษณะพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองอื่น ๆ ที่สามารถพบได้ ได้แก่


1. เล่นเส้นผมของผู้อื่น ชอบสัมผัสเส้นผม
2. ส่งเสียงดัง ๆ เป็นเสียงที่เด็กส่งเสียงเองในหลาย ๆ โทนเสียง
3. ติดถือของในมือตลอดเวลา
4. โยนของ ทิ้งของลงพื้น คว่ำตะกร้าของให้กระจาย
5. ทำร้ายตนเองเมื่อเกิดความไม่พอใจ เช่น นำศีรษะโขกกำแพง ทุบอก ตี หยิก ข่วน นอนทิ้งตัวกับพื้นแรง ๆ 
6. ติดการเคี้ยว เช่น ต้องเคี้ยวหลอดพลาสติกตลอดเวลา
7. วิ่งไปมาเป็นเส้นตรง ไม่แสดงอาการเหนื่อยหรือหยุดพัก 
8. ชอบการสัมผัส เช่น การกอด หอมแก้ม 
9. สะบัดศีรษะ โยกศีรษะ

แนวทางการปรับพฤติกรรม

      ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน ผ่านการชักชวนให้เด็กเลือกของเล่นที่สนใจ จากนั้นให้ผู้ปกครองเข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นกับตัวเด็กด้วย เช่น พาไปสนามเด็กเล่น ชวนเล่นสไลเดอร์ นั่งชิงช้า กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง เป็นต้น โดยกิจกรรมที่ใช้ในการฝึกกระตุ้นเพื่อปรับลดพฤติกรรม ควรเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายและจุดสิ้นสุดของการทำกิจกรรมที่ชัดเจน


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy