แชร์

เลี้ยงลูกด้วยจอ ส่งผลต่อพัฒนาการอย่างไร ? 

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
198 ผู้เข้าชม

เลี้ยงลูกด้วยจอ ส่งผลต่อพัฒนาการอย่างไร ? 

       ในยุคปัจจุบันที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน หนึ่งในนั้นรวมไปถึงการเลี้ยงเด็กด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บแล็ต และโทรทัศน์ จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้จอของเด็ก วัย 0-3 ปี 

       ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่ามีปริมาณการใช้หน้าจอประเภทโทรทัศน์และโทรศัพท์มือถือประมาณ 60.8% และ 63.4% ตามลำดับ ส่วนใหญ่ในกลุ่มเด็กที่ดูโทรทัศน์พบว่าผู้ปกครองให้เด็กใช้สื่อตั้งแต่แรกเกิดเลย และจากการศึกษาระยะเวลาการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พบว่ามีปริมาณการใช้โทรทัศน์สูงสุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50.3 นาทีต่อวัน

      รองลงมา คือ แท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 40.40 นาทีต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสถานที่นอนของเด็กที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว พบว่าเด็กที่นอนกับปู่ ย่า ตา และยายมีปริมาณการใช้แท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือสูงที่สุด

เด็กที่มีปัญหาการพูดเกี่ยวกับการดูจอหรือไม่ ?

        ส่วนใหญ่เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า มักเกิดจากการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในช่วง 1-2 ปีแรก เนื่องจากสมองของเด็กวัยแรก 2 ปี มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะพัฒนาศักยภาพของเด็ก ทางสถาบัน American Academy of Pediatrics ได้ให้คำแนะนำว่าไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ดูโทรทัศน์หรือใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เพื่อความบันเทิง
        สาเหตุสำคัญที่ทำให้พัฒนาการด้านภาษาล่าช้า เกิดจากการที่ไม่มีสิ่งแวดล้อมไปกระตุ้นพัฒนาการด้านการพูดเลย ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่กล่าวถึง คือ ผู้ปกครอง หรือคนในครอบครัว ในลักษณะของการไม่มีคนชวนพูดคุย เพื่อเป็นต้นแบบเสียงให้เด็กได้ยินได้คุ้นเคยกับเสียง ได้พยายามเลียนเสียงจากที่ได้ฟังมา ทำให้เด็กไม่เกิดการพัฒนาทักษะ การเปล่งเสียง ความเข้าใจภาษา และการพูดสื่อความหมาย 
       สิ่งแวดล้อมอื่นที่ไปขัดขวางพัฒนาการอีกอย่างหนึ่ง คือ หน้าจอสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเด็กที่ดูจอตั้งแต่วัยทารก โดยผู้ปกครองมักจะปล่อยให้ เด็กดูตามลำพังด้วยความเข้าใจว่าเป็นวิธีการเลี้ยงที่ง่าย สามารถช่วยหยุดการร้องโวยวายของเด็กได้ แต่จริง ๆ แล้วนั้นขณะที่เด็กดูหน้าจอ ตัวเด็กเองยังไม่ได้มีความเข้าใจความหมายของสื่อที่ดูเลยไม่ว่าจะเป็นเพลงและการ์ตูน แค่สนุกไปตามสิ่งที่ตนเองเห็น ทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ควรจะกระตุ้นในช่วงเวลานี้ไม่เป็นไปตามวัย สรุปได้ว่าการปล่อยให้เด็กดูจอเพียงลำพัง ส่งผลให้เกิดการปิดกั้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กโดยทันที แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมไม่สนใจฟังเสียงอื่นๆหรือเสียงเรียกชื่อของตนเอง ต้องการใช้เวลาในการดูจอมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อถูกขัดใจมักจะอารมณ์ร้าย หงุดหงิดง่าย ไปจนถึงอาจมีพฤติกรรมทำร้ายคนอื่น

         เพราะฉะนั้นผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการ โดยเน้นการพูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ กระตุ้นให้เด็กโต้ตอบ อ่านนิทาน แสดงอารมณ์และความรู้สึกอย่างชัดเจนทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการร่วมกัน และพาเด็กเข้าสังคมเจอเพื่อนในวัยเดียวกัน

ทำไมเด็กบางคนดูจอแต่พัฒนาการถึงสมวัย ? 

       คำถามที่ผู้ปกครองมักสงสัย คือ เลี้ยงลูกมาสองคนเหมือนกัน ให้ดูจอทั้งคู่เลย ทำไมคนหนึ่งเป็น แล้วอีกคนถึงไม่เป็นล่ะ 
       สามารถอธิบายข้อสงสัยนี้ได้ว่า การติดจอที่ส่งผลต่อพัฒนาการล่าช้า ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน เป็นเพราะว่าในเด็กที่มีปัญหาการดูจอบางคนมีแนวโน้วที่จะเป็นออทิสติกอยู่แล้วแต่ยังไม่แสดงอาการที่ชัดเจนมาก ทำให้อาจจะไม่สามารถสังเกตความผิดปกติของอาการได้เลย ซึ่งการดูจอเป็นสิ่งเร้าที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้นแล้วทำให้แสดงอาการออกมาชัดเจนมากขึ้นและจากที่เราทราบกันดีแล้วว่า

สาเหตุของการเป็นออทิสติกแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 
1.กรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของยีนส์หลายตำแหน่ง 
2.การตั้งครรภ์และสภาพแวดล้อมหลังการคลอด ในช่วง 1-2 ปีแรก 
3.ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องผูกและท้องเสียบ่อย ๆ และปัญหาเรื่องภูมิต้านทานที่ส่งผลต่อสมองโดยตรง จากสาเหตุที่กล่าวมาร่วมกับการติดจอเสริมกันหลายปัญหา ทำให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ บกพร่องไป 


อ้างอิง
สายน้อย คำชู. (2564). การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลการเลี้ยงดูเด็กพูดช้าจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการปรับพฤติกรรม. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, 1, หน้า 194-195.

อภิรพี เศรษฐรักษ์ ตันเจริญวงศ์, ศรีรัฐ ภักดีรณชิต และ ญาณวุฒิ เศวตธิติกุล. (2561). พฤติกรรมการใช้หน้าจอของเด็กไทยวัย 0-3 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 2, หน้า 60-62.


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy