แชร์

การส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสารในเด็ก

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
195 ผู้เข้าชม

การส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสารในเด็ก 

      การส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสาร การกระตุ้นพัฒนาการที่ง่ายที่สุดและช่วยให้เกิดความก้าวหน้าของการฝึก ทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมและทำกิจกรรม เริ่มต้นจากการฝึกฝนทักษะที่บ้าน โดยผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความสม่ำเสมอของการพัฒนาทักษะของเด็ก

      จากการศึกษาพบว่า เด็กออทิสติกที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรักษา มีคะแนนด้านความเข้าใจภาษาและด้านการใช้ภาษามากกว่าก่อนเข้ารับการกระตุ้น สรุปได้ว่าการที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมช่วยกระตุ้นพัฒนาการที่บ้านสามารถช่วยเพิ่มความสามารถทางภาษาของเด็กออทิสติกให้ดีขึ้นได้

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการพูดของเด็ก

1. เด็ก : การให้ความร่วมมือในการพูดของเด็กมีหลายปัจจัยร่วม เช่น แรงจูงใจในการสื่อสารโต้ตอบ ช่วงความสนใจ และความพร้อมทางด้านสภาวะทางร่างกายและจิตใจ 
2. ผู้ปกครอง : ในส่วนของผู้ปกครองที่ต้องให้ความช่วยเหลือจำเป็นต้องมีปัจจัยเหล่านี้ เช่น ความใส่ใจและความสม่ำเสมอของการกระตุ้น ความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก การเข้าหาเด็กด้วยสีหน้าและท่าทางที่ยิ้มแย้ม ใจเย็น เข้าใจ 
3. สภาพแวดล้อม : ควรเป็นสภาพแวดล้อมที่เด็กรู้สึกคุ้นเคย ผ่อนคลาย และปลอดภัย

วิธีการส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการ 

1. ให้เด็กสบตาขณะสนทนากัน 
2. ให้โอกาสเด็กในการมีส่วนร่วมในบทสนทนา สื่อสารโต้ตอบคำถาม
3. ให้โอกาสเด็กในการเป็นผู้เริ่มต้นบทสนทนาก่อน 
4. ฝึกฝนให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์หมวดหมู่ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผู้ปกครองชวนเล่นของเล่นที่เด็กสนใจ ขณะนั้นให้สอนคำศัพท์ของสิ่งที่เด็กมองและถืออยู่ เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจในความหมายของคำศัพท์จากภาพ 

อ้างอิง
ยุวดี อ่ำประยูร. (2565). กระบวนการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาของเด็กออทิสติกโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการรักษา. วารสารราชานุกูล, 34(2), หน้า 23-36.


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy