แชร์

พัฒนาการด้านภาษาของเด็ก 

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
185 ผู้เข้าชม

พัฒนาการด้านภาษาของเด็ก 


         ในปัจจุบันสิ่งที่ผู้ปกครองมีความกังวลเกี่ยวกับลูกของตนเองนั้น อันดับต้น ๆ เป็นเรื่องของพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ผู้ปกครองจะสังเกตว่าลูกไม่พูด ไม่ส่งเสียง เล่าเรื่องไม่ได้ พูดช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องของการสื่อความหมายและมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ ล่าช้าตามมาด้วย ฉะนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กเบื้องต้น เพื่อสังเกตลักษณะและอาการของความล่าช้าให้ทันท่วงที 

พัฒนาการด้านภาษาของเด็ก มีดังนี้

อายุ ความสามารถ
1 เดือน ส่งเสียงร้องไห้ ออกเสียงในลำคอ มองหน้าช่วงสั้น ๆ
2 เดือน ยิ้มตอบเวลาผู้อื่นเล่นด้วย มองสบตา
4 เดือน พยายามหันหาเสียง ส่งเสียงอ้อแอ้ หัวเราะโต้ตอบ
6 เดือน หันหาเสียงเรียกชื่อ เล่นน้ำลาย เลียนเสียงผู้อื่น ส่งเสียงหลายโทนเสียง
9 เดือน เข้าใจสีหน้าและท่าทางของผู้อื่น ส่งเสียงปาปา มามา
12 เดือน ทำตามคำบอกได้ผ่านการเลียนแบบ พูดคำที่มีความหมายได้ 1 คำ
15 เดือน ชี้อวัยวะบนใบหน้าตามคำบอกได้ พูดคำที่มีความหมายได้ 2-3 คำ
18 เดือน พูดได้หลายคำ (ประมาณ 50 คำ)
2 ปี ชี้รูปภาพตามคำบอก พูดได้ 2-3 คำต่อกันที่มีความหมาย พูดคำศัพท์ได้ 50-80 คำ บอกชื่อตนเองได้  
3 ปี รู้จักสี 3 สี พูดเป็นประโยค โต้ตอบบทสนทนาได้ เล่าเรื่องได้เข้าใจครึ่งหนึ่ง

 

พัฒนาการด้านภาษาของเด็กที่ผิดปกติ มีดังนี้

อายุ 6-10 เดือน : ไม่ส่งเสียงเลย ไม่หันตามเสียง ไม่เลียนแบบเสียง
อายุ 15 เดือน    : ไม่เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ ยังไม่พูดคำที่มีความหมายคำแรก ไม่มีภาษากาย
อายุ 1-2 ปี       : ไม่เริ่มการสื่อสาร ไม่เข้าใจคำสั่งและคำถาม ไม่สามารถสื่อสารในเรื่องเดียวกันขณะสนทนากับผู้อื่นได้ 
อายุ 3 ปี         : ไม่พูดบอกความต้องการ ไม่เข้าใจประโยคคำถาม ไม่พูดโต้ตอบ ยังไม่พูดเล่าเรื่องสั้น ๆ 

      จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ตามตารางพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยจะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถเทียบข้อมูลกับความสามารถของเด็กได้ หากลูกของท่านมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามลำดับขั้น อาจช้าหรือเร็วกว่าช่วงวัยเล็กน้อย ให้ผู้ปกครองเฝ้าระวังและสังเกตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่าเด็กมีพัฒนาการตามวัยหรือไม่ นอกจากนี้ผู้ปกครองยังมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูด โดยเน้นกระตุ้นพัฒนาการผ่านการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้การสื่อสาร การตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ความคิด และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม  

อ้างอิง
นิตยา เกษมโกสินทร์. (2560). ปัญหาเด็กพูดช้า เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม.


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy