แชร์

ออทิสติกคืออะไร ออทิสติกเทียมมีจริงหรือไม่

อัพเดทล่าสุด: 24 ก.พ. 2025
409 ผู้เข้าชม

ออทิสติกคืออะไร ออทิสติกเทียมมีจริงหรือไม่


        ออทิสติกหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ASD เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมองส่งผลให้เกิดความบกพร่องต่อพัฒนาการและการเรียนรู้  มีอาการสำคัญ 3 ด้าน คือ


ด้านภาษา 
- ไม่หันตามเสียงเรียก ไม่รู้จักชื่อของตนเอง ไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ ไม่เข้าใจคำสั่ง ไม่เข้าใจคำถาม
- ไม่ส่งเสียง ไม่เล่นเสียง ไม่พูดคำที่มีความหมาย พูดภาษาการ์ตูน ใช้ท่าทางเพื่อแสดง ความต้องการแทนการพูด

ด้านพฤติกรรม 
- มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ (กระตุ้นตัวเอง) หรือทำกิจกรรมรูปแบบเดิม เช่น กระโดด สะบัดมือ  เล่นมือ หมุนตัว เดินเขย่ง โยกตัว ชอบเรียงวัตถุต่อกัน กินอาหารแบบเดิม ทำกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ 
- ให้ความสนใจกับบางสิ่งเป็นพิเศษ เช่น วัตถุที่กำลังหมุน พัดลม หลอดไฟ หลอด
- ประสาทสัมผัสรับความรู้สึกที่มากหรือน้อยเกินไป เช่น กลัวหรือติดการสัมผัส ติดการดมกลิ่น กลัวเสียงดัง 
- ในเด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมมองขวาง กัดฟัน กระพริบตาถี่ ๆ เคาะโต๊ะหรือวัตถุอื่น ๆ  และอาจมีเรื่องพฤติกรรมทำร้ายตนเองและผู้อื่นด้วย เช่น กัดมือ โขกหัวกับพื้น ทุบหน้าอกหรือศีรษะ วิ่งชนกำแพง หยิก ข่วน เป็นต้น

ด้านการเข้าสังคม
- มีปัญหาปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น เข้าหาผู้อื่นไม่เหมาะสม ไม่มองหน้าสบตา ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก เฉยเมย แยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ไม่เข้าใจการสื่อสารทางสายตา สีหน้า ท่าทาง และไม่สนใจการทำงานหรือกิจกรรมร่วมกับใคร 

      อาการสำคัญทั้ง 3 ด้านเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคออทิสติก โดยอาการแสดง จะเห็นชัดเจนเมื่ออยู่ในช่วงอายุก่อน 3 ปี อาการจะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากระดับความรุนแรงของโรคมีช่วงจากน้อยไปมาก ทำให้การวินิฉัยของแพทย์ขึ้นอยู่กับว่าได้เจอเด็กในช่วงวัยใด ระดับความสามารถของเด็กเป็นอย่างไร เพราะเด็กสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้ตามพัฒนาการ หากไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยครบทั้ง 3 ข้อ อาจหมายถึงเด็กมีพัฒนาการล่าช้าในด้านนั้น 


ออทิสติกเทียมมีจริงหรือไม่
       คำว่า ออทิสติกเทียม เป็นคำยอดฮิตที่พบได้บ่อยในปัจจุบันนี้เป็นอย่างมากทางกุมารแพทย์หลายแห่งได้อธิบายไปในทิศทางเดียวกันว่า ออทิสติกเทียมเกิดจากการที่เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะต่อการเรียนรู้ ทำให้เด็กมีปัญหาการพูดล่าช้า เช่น เด็กไม่เคยได้รับการกระตุ้นเรื่องการพูดเลย ไม่มีคนชวนคุย ชวนเล่นหรือมีปฏิสัมพันธ์ ไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อนเลย ทำให้ไปปิดกั้นพัฒนาการที่ควรจะพัฒนาให้เป็นไปตามวัย ปล่อยให้เด็กใช้เวลาอยู่กับจอเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ยังเด็กเป็นต้น ส่งผลให้การเข้าสังคมมีปัญหาด้วยเช่นกัน และมีพฤติกรรมซ้ำร่วมด้วย จึงมักใช้คำว่า ออทิสติกเทียม พูดถึงเด็กที่มีอาการคล้ายเด็กออทิสติก แต่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุของโรคออทิสติก 

      ในทางการแพทย์นั้นไม่มีการบัญญัติ คำว่า เทียม ในโรคดังกล่าวเลย ดังนั้นให้คำนึงว่าจะวินิจฉัยเป็นออทิสติกหรือไม่ โดยแพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นหรือไม่เป็น ซึ่งอาการมีตามระดับความรุนแรงของโรคเป็นช่วงกว้างจากน้อยไปมาก จึงสรุปได้ว่า "ออทิสติกเทียมไม่ได้ถูกบัญญัติตามเกณฑ์วินิจฉัยโรค" เมื่อมีอาการครบทั้งสามด้าน จึงต้องทำความเข้าใจ สังเกตอาการและยอมรับความล่าช้าทางพัฒนาการของเด็ก เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการให้รวดเร็วและต่อเนื่องให้ได้มากที่สุด นำไปสู่ความสามารถในการทำกิจวัตประจำวัน การเข้าสังคม และการเรียนต่อไป


บทความที่เกี่ยวข้อง
กิจวัตรประจำวัน เรื่องเล็ก ๆ ที่สำคัญ
การช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน เป็นทักษะสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กมีพื้นฐานที่ดี เพราะกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กทุกคนต้องทำประจำไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหาร การแต่งกาย การขับถ่าย และการดูแลความสะอาดของร่างกาย
เมื่อลูกกินยาก ทำอย่างไรดี
เมื่อเด็กเข้าสู่ช่วงวัย 1 - 3 ปี เป็นวัยที่มีความคิดเป็นของตัวเองค่อนข้างสูง เริ่มรู้จักความต้องการของตนเอง รู้จักการปฏิเสธมากขึ้น ปัญหาที่มาจากการที่เด็กเริ่มรู้จักตัวเองมากขึ้น คือ เลือกกิน กินยาก เบื่ออาหาร และไม่ยอมกินอาหาร
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy