แชร์

ทำความรู้จักกับ TMS คืออะไร ทำงานอย่างไร ใช้ในเด็กกลุ่มใดได้บ้าง?

อัพเดทล่าสุด: 19 ธ.ค. 2024
288 ผู้เข้าชม

ทำความรู้จักกับ TMS คืออะไร ทำงานอย่างไร ใช้ในเด็กกลุ่มใดได้บ้าง?

           Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) เป็นเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกส่งผ่านเข้าไปในขดลวด (TMS coil) จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เมื่อสนามแม่เหล็กถูกทาบลงบนศีรษะ เซลล์ประสาทที่เปรียบเสมือนขดลวดอีกอันหนึ่งจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลเวียนภายในเปลือกสมองโดยที่ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นสมองโดยตรง โดยคลื่นแม่เหล็กที่ถูกปล่อยออกมาจะมีความกว้าง ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บที่ศีรษะ และปลอดภัยสำหรับเด็ก

 TMS ทำงานอย่างไร? 
          TMS จะเข้าไปทำให้คลื่นสมองมีการเปลี่ยนแปลง เกิดการปรับการทำงานของสารสื่อประสาทภายในสมอง ทำให้เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น ส่งผลให้เซลล์สมองทำงานและสั่งการได้ดียิ่งขึ้น 

TMS ใช้ในเด็กกลุ่มใดได้บ้าง?
          ในปัจจุบัน TMS นับว่าเป็นการรักษาแบบทางเลือกที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ตามลำดับร่วมกับการฝึกพัฒนาการอื่น ๆ โดยสามารถใช้รักษาในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการทางสมอง ได้แก่
- ออทิสติก (Autism Spectrum Disorder : ASD)
- สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD)
- บกพร่องทางทักษะการเรียนรู้ (Learning Disorder : LD)
- พัฒนาการช้า (Delayed Development)

ตำแหน่งของสมองที่ใช้ในการกระตุ้นด้วย TMS มีอะไรบ้าง?
           สมองใหญ่ของเราแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ สมองใหญ่ส่วนหน้า, สมองใหญ่ส่วนข้าง, สมองใหญ่ส่วนขมับ และสมองใหญ่ส่วนท้ายทอย ซึ่งแต่ละส่วนก็จะมีการทำงานที่แตกต่างกันไป
- สมองใหญ่ส่วนหน้า (Frontal lobe) : เกี่ยวข้องกับความคิด ความจำ สมาธิ การพูด การแก้ไขปัญหา สติปัญญาขั้นสูง การจัดการอารมณ์และความรู้สึก
- สมองใหญ่ส่วนข้าง (Parietal lobe) : เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น การรับรู้กลิ่น การรับรู้รสชาติ
- สมองใหญ่ส่วนขมับ (Temporal lobe) : เกี่ยวข้องกับความจำ การได้ยิน การเข้าใจภาษา 
- สมองใหญ่ส่วนท้ายทอย (Occipital lobe) : เกี่ยวข้องกับการรับรู้ทางสายตา การมองเห็น

       อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งต่าง ๆ ในการกระตุ้นจะถูกออกแบบตามอาการหรือปัญหาของเด็กแต่ละคนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy