แชร์

การรักษาด้วย TMS ในเด็กปลอดภัยหรือไม่ ?

อัพเดทล่าสุด: 24 ก.พ. 2025
326 ผู้เข้าชม

การรักษาด้วย TMS ในเด็กปลอดภัยหรือไม่ ?


           ในปัจจุบัน TMS ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ป่วย เช่น โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น และต่อมาในภายหลังได้มีการนำมาใช้รักษาเด็กออทิสติกด้วย โดยบุคลากรทางการแพทย์คนแรกที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสาเหตุของโรคออทิสติก คือ Dr. Manuel Casanova  ได้ทำการศึกษาว่าในสมองของเด็กออทิสติกนั้นมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสมองโดยตรง   

          เนื่องจากเซลล์ประสาทมีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งหรือมีการพัฒนาของเซลล์ผิดปกติ จึงทำให้สูญเสียสมดุลระหว่างเซลล์ที่ทำงานเกี่ยวกับการกระตุ้นและยับยั้ง ส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กด้วย อีกทั้งยังเป็นข้อพิสูจน์ใหม่ที่แตกต่างจากทฤษฎีเดิมที่ว่าสาเหตุของการเกิดโรคออทิสติกนั้นเกิดจากพันธุกรรม 60% - 70% แต่ในทฤษฎีใหม่ตามการศึกษาของ Dr. Manuel พบว่าสาเหตุของโรคนั้นเกิดจากพันธุกรรมลดลงเป็น 30% และอีก 70% มาจากขณะตั้งครรภ์ร่วมกับสิ่งแวดล้อมของเด็กหลังการคลอดด้วย ดังนั้นการรักษาเด็กออทิสติกด้วย TMS จึงมีความสำคัญอย่างมาก ในการกระตุ้นเพื่อปรับสมดุลการทำงานของเซลล์ในสมอง

          ในประเทศจีน Dr. Zheng Zhong (Chief Physician of Mental Health Center) ได้เริ่มนำ TMS มาใช้รักษาเด็กออทิสติก และทำการรรักษาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2007 มีคนไข้มากกว่า 150,000 คน จากประสบการณ์การให้การรักษามามากกว่า 10 ปี ได้ยืนยันว่าการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กมีความปลอดภัยและให้ผลลัพธ์การรักษาไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจาก TMS ได้รับการรับรองจาก FDA (United States Food and Drug Administration) มีการศึกษาความปลอดภัยจากการกระตุ้นศีรษะด้วยคลื่นแม่เหล็กมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 พัฒนามาตรฐานการรักษามาเรื่อย ๆ ต่อมาภายในปี ค.ศ. 2018 2019 ได้มีการทบทวนและศึกษาความปลอดภัยของการใช้เครื่องมือที่นำมาใช้รักษาเด็กโดยตรง


         งานวิจัยเกี่ยวกับการทำ TMS ในเด็กนั้นเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วง 80 ปีที่ผ่านมานี้ และในช่วงปี ค.ศ. 2023 มีงานวิจัยเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายหมื่นฉบับ มีการเก็บรวบรวมงานวิจัยที่มีคุณภาพมาศึกษาและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เกี่ยวกับการกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด (Non-Invasive Brain Stimulation) สามารถทำได้อยู่ 2 วิธี คือ

1. TMS การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก 

2. tDCS การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรง 

         จากงานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลความปลอดภัยจากการใช้ TMS และ tDCS โดยทำการศึกษาในเด็ก 400 คน แสดงให้เห็นว่าไม่พบอาการชักเลย และจากรายงานในปี ค.ศ. 2019 พบว่าอัตราการเกิดอาการชักนั้นจะพบได้ 1 ใน 30,000 คน หรือ 1 ใน 70,000 คน 

การกระตุ้นสมองด้วย TMS ทำให้เกิดอาการชักในเด็กหรือไม่ 
         ออทิสติกเป็นความผิดปกติของสมองที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องต่อพัฒนาการด้านภาษา การเข้าสังคม และพฤติกรรมจำกัด โดยมีโรคร่วมเป็นจำนวนมาก อาการหนึ่งในโรคร่วมที่อาจพบได้ คือ อาการชัก เกิดจากพยาธิสภาพของสมองที่มีความผิดปกติ ดังนั้นแนวทางการป้องกันก่อนเริ่มการรักษา TMS จึงต้องมีการคัดกรองประวัติและอาการ เพื่อลดความเสี่ยงของการรักษา รวมไปถึงการพิจารณาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและเลือกใช้โปรแกรมการรักษาให้เหมาะสมและอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัย ซึ่งเน้นประโยชน์ของคนไข้เป็นหลัก 

ผลข้างเคียงจากการทำ TMS
         ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วย TMS ที่อาจเกิดขึ้นได้จะมีอาการเวียนศีรษะและ     ในเด็กบางคนอาจจะมีอาการซนขึ้น นอนดึกขึ้น ตื่นกลางดึก และหงุดหงิดง่ายมากขึ้นจากเดิมที่มีอาการอยู่แล้ว อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการรักษาเท่านั้น หลังจากผ่านการปรับตัวต่อการกระตุ้นสมองแล้วอาการจะค่อยๆลดลงจนแทบไม่มีอาการข้างต้นเลย 


อ้างอิง
วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล. (2556). การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะ (Transcranial Direct Current Stimulation). เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 23(2), หน้า 37-40


บทความที่เกี่ยวข้อง
กิจวัตรประจำวัน เรื่องเล็ก ๆ ที่สำคัญ
การช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน เป็นทักษะสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กมีพื้นฐานที่ดี เพราะกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กทุกคนต้องทำประจำไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหาร การแต่งกาย การขับถ่าย และการดูแลความสะอาดของร่างกาย
เมื่อลูกกินยาก ทำอย่างไรดี
เมื่อเด็กเข้าสู่ช่วงวัย 1 - 3 ปี เป็นวัยที่มีความคิดเป็นของตัวเองค่อนข้างสูง เริ่มรู้จักความต้องการของตนเอง รู้จักการปฏิเสธมากขึ้น ปัญหาที่มาจากการที่เด็กเริ่มรู้จักตัวเองมากขึ้น คือ เลือกกิน กินยาก เบื่ออาหาร และไม่ยอมกินอาหาร
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy