แชร์

การกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด (NIBS) มีอะไรบ้าง?

อัพเดทล่าสุด: 15 ต.ค. 2024
241 ผู้เข้าชม

การกระตุ้นสมองแบบไม่ต้องผ่าตัด (NIBS) มีอะไรบ้าง?


       ปัจจุบันมีการรักษาทางเลือกมากมายที่สามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด เรียกว่า Non-Invasive Brain Stimulation (NIBS) เป็นการกระตุ้นและฟื้นฟูการทำงานของสมองด้วยเครื่องมือและนวัตกรรมที่ทันสมัย ได้แก่

Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)

       เป็นเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกส่งผ่านเข้าไปในขดลวด (TMS coil) จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดสนามแม่เหล็กตามหลักการของฟาราเดย์ (Faraday) เมื่อสนามแม่เหล็กถูกทาบลงบนศีรษะ เซลล์ประสาทที่เปรียบเสมือนขดลวดอีกอันหนึ่งจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลเวียนภายในเปลือกสมองโดยที่ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นสมองโดยตรง


      รูปภาพจาก : https://dmh.lacounty.gov/blog/2022/02/transcranial-magnetic-stimulation/

Transcranial Direct Current Stimulation (tDCS)

       เป็นเครื่องกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเครื่องมือจะผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) อย่างอ่อนประมาณ 1-2 mA ผ่านอิเล็กโทรด (electrode) ไปยังกะโหลกศีรษะ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วแอโนด (anodal) ไปยังขั้วแคโทด (cathodal) โดยมีหลักการทำงาน คือ วางขั้วแอโนด (+) บนตำแหน่งของสมองที่ต้องการกระตุ้นการทำงาน และวางขั้วแคโทด (-) บนตำแหน่งของสมองที่ต้องการยับยั้งการทำงาน

     รูปภาพจาก : https://www.yingchi-tms.com/product/transcranial-direct-current-stimulator-e1/

Transcranial Ultrasound Stimulation (TUS)

       เป็นเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound wave) ใช้ในการกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของระบบประสาทในบริเวณที่ต้องการ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาท (Neuromodulation) ทำให้เซลล์ประสาทที่ทำงานมากหรือน้อยเกินไปกลับมาทำงานอยู่ในระดับปกติ จึงสามารถใช้รักษาโรคทางระบบประสาทได้หลากหลาย เช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease), โรคหลอดเลือดสมอง (Stoke) และยังรักษาอาการชัก (Epilepsy) ได้อีกด้วย

                                              รูปภาพจาก : https://www.neurosona.com/


บทความที่เกี่ยวข้อง
Neurofeedback VS TMS ในเด็กออทิสติก
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า Neurofeedback เป็นการปรับการทำงานของสมอง โดยการนำวิธีการสะท้อนกลับของคลื่นสมองมาเป็นตัวช่วยในการปรับคลื่นสมอง โดยวัดคลื่นสมองแบบ Real-time แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาแสดงให้เห็นผ่านทางภาพ วิดีโอ หรือเสียง
เขียนตัวอักษรกลับด้านแก้ไขอย่างไร?
เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มจับดินสอขีดเขียนแล้ว ผู้ปกครองหลายคนคงเจอปัญหาว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงเขียนตัวอักษรกลับด้าน สับสนในการเขียนพยัญชนะม้วนหัวเข้าหรือออกบางตัว ฝึกเขียนซ้ำหลายครั้งแล้วก็ยังเขียนกลับด้านเหมือนเดิม
พัฒนาการด้านการเขียน เรื่องเขียนง่ายนิดเดียว!
ปัญหาที่เรามักจะพบได้บ่อยในเด็กวัยเริ่มเขียน คือ เด็กจับดินสอไม่ถูกต้อง จับดินสอไม่เป็น ส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจและไม่ให้ความร่วมมือในการเขียน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy