การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

qEEG (Quantitative EEG), Brain mapping


qEEG (Quantitative EEG), Brain mapping

เป็นการบันทึกสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมองเชิงปริมาณ

โดยการใช้อิเล็กโทรดวางบนหนังศีรษะตามตำแหน่งต่างๆ เพื่อตรวจวัดสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง สัญญาณที่บันทึกจะประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทในสมอง

สัญญาณ EEG ที่บันทึกจะถูกแปลงเป็นข้อมูลเชิงปริมาณผ่านการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อแยกแยะความถี่ต่าง ๆ

ของสัญญาณ การวิเคราะห์สเปกตรัมความถี่ช่วยในการระบุการทำงานของสมองในแต่ละย่านความถี่ เช่น Delta (0.5-4 Hz), Theta (4-8 Hz), Alpha (8-12 Hz), Beta (12-30 Hz), และ Gamma (>30 Hz) การเปลี่ยนแปลงในความถี่ต่าง ๆ

สามารถบ่งชี้ถึงภาวะปกติหรือผิดปกติของการทำงานของสมอง

ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จะถูกใช้ในการสร้างแผนที่คลื่นไฟฟ้าสมอง (Brain Mapping) ซึ่งแสดงการกระจายของคลื่นไฟฟ้าสมองในตำแหน่งต่าง ๆ บนหนังศีรษะ สามารถแสดงผลในรูปแบบ 2D หรือ 3D ทำให้สามารถเห็นการทำงานของสมองในมุมมองที่ชัดเจน

การใช้ qEEG , Brain mapping

ในการตรวจประเมินโรคทางระบบประสาทต่างๆ

โรคออทิสติก

(Autism spectrum disorder)

โรคสมาธิสั้น

 (Attention deficit hyperactivity disorder)

พัฒนาการล่าช้า (Developmental Delay)

การเรียนรู้บกพร่อง (Learning disorder)

ภาวะลมชัก

(Epilepsy)

ภาวะซึมเศร้า (Depression)

โรควิตกกังวล (Anxiety)

โรคซึมเศร้า

(Major depressive disorder)

โรคทางระบบประสาทอื่นๆ

เช่น อาการบาดเจ็บทางสมอง, stroke, PSTD

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy